วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คาวมรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งเเวดล้อมเเละสิ่งมีชีวิต

สิ่งแวดล้อม คืออะไร?
สิ่งแวดล้อม
คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม
(สามารถจับต้องและมองเห็นได้)
และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ)
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง
อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจร


สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ



  • 1 สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร














  • 2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
    เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม
    ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม





  • ที่มาของข้อมูล:http://environment.exteen.com/20061210/entry-2
    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้          
                      1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                      2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                      3.  ทรัพยากรธรรมชาติ 
    ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
                1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
                 2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
                 3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
    ที่มาของข้อมูล:http://www.bbc07geo.ob.tc/58.htm
    สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
    1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
    2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
    ที่มาของข้อมูล:http://nan2369.tripod.com/data/sh.htm
    ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม1. กฎความต้องการต่ำสุด (Law of Minimum) ในปี ค.ศ.1840 จัสตัส ฟอน ลีบิก นักพฤกษศาสตร์และสรีระ พบว่าธาตุอาหาร ความชื้น อุณหภูมิ สารอาหาร และธาตุที่จำเป็นอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสัมพันธ์อยู่ด้วย มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหากได้รับในปริมาณที่พอเหมาะพืชจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับในปริมาณน้อยเกินขีดจำกัดที่จะอยู่ได้ สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะตายได้
    2. กฎความทนทานของเชลฟอร์ด (Law of Tolerance) เชลฟอร์ดเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้ศึกษาทางนิเวศวิทยาของสัตว์ พบว่า ไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมที่มีน้อยเกินไปเท่านั้นที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต แต่ถ้ามีมากเกินไปก็มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีช่วงของความทนทาน ต่อปัจจัยต่าง ๆ เพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น ถ้าสูงหรือต่ำกว่าช่วงดังกล่าวจะเป็นอันตราย ไม่สามารถดำรงอยู่ในที่นั้นได้ หรือไม่สามารถเติบโตแพร่พันธุ์ได้
    3.หลักการแห่งความสัมพันธ์ที่มีขอบเขตขวางกั้นของปัจจัยสิ่งแวดล้อม
    หลักการนี้กล่าวไว้ว่า ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นไม่สามารถแยกปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง โดยไม่กระทบถึงส่วนอื่นของระบบนิเวศได้ ดังนั้นไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพียงใด ก็จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศได้เพราะสิ่งแวดล้อมเกิดจากการประสานงานกันของหลายปัจจัย
    4.หลักการของปัจจัยที่เป็นตัวการจำกัดที่สำคัญที่สุดที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    หลักการนี้กล่าวว่า ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมใดก็ตามที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจนไม่เป็นปัจจัยจำกัดของสิ่งนั้น ๆ อีกต่อไป แต่จะมีผลกระทบไปถึงปัจจัยอื่นและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกันเป็นลูกโซ่ จนทำให้ระบบนิเวศหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งได้ เช่น ป่าผลัดใบ เมื่อมีความชื้นเพียงพอจะกลายเป็นป่าดงดิบได้ เป็นต้น
    ที่มาของข้อมูล:http://wannaphrom.blogspot.com/2009/07/blog-post_20.html
    มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
    มนุษย์นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมแล้ว การกระทำของมนุษย์ยังมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ในทำนองเดียวกันสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ก็จะมีผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของชีวิตมนุษย์
    มนุษย์เป็นสิ่งแวดล้อมที่มหัศจรรย์ประเภทหนึ่ง มนุษย์มีขีดความสามารถเหนือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  มนุษย์สามารถนำสิ่งแวดล้อมหนึ่งมาดัดแปลงให้เป็นสิ่งแวดล้อมใหม่  พฤติกรรมของมนุษย์มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งส่งผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม   ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์   พฤติกรรมของมนุษย์จะเป็นไปตามสิ่งแวดล้อม
    กล่าวได้ว่ามนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม   การกระทำใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมมีผลตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วยเสมอ    ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  เพื่อจะได้รู้จักใช้สิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เพื่อให้เราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และเพื่อมิให้เราทำลายสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
    1. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ 
      
       สิ่งแวดล้อมล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสามารถแยกอธิบายให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้ 
       สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ   เป็นปัจจัยเบื้องต้นในการกำหนดรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าในด้านการตั้งถิ่นฐาน ด้านลักษณะของที่อยู่อาศัย ด้านการประกอบอาชีพ เป็นต้น  แต่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติจะสามารถกำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้มากน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์เอง หากมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้ามาก  มนุษย์ย่อมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติน้อยลง    และยังสามารถดัดแปลงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติให้เป็นประโยชน์กับตนเองได้มากด้วย  ซึ่งเราสามารถที่จะนำวิถีชีวิตของกลุ่มชนที่ด้อยพัฒนาในทวีปแอฟริกา เช่น เผ่าบุชเมน เผ่าปิ๊กมี มาเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตของกลุ่มชนที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรปหรืออเมริกาเหนือได้ กลุ่มชนที่ด้อยความเจริญในทวีปแอฟริกาจะมีวิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย  พึ่งพาอาศัยธรรมชาติค่อนข้างมาก   การดัดแปลงธรรมชาติยังมีน้อย  ในขณะที่กลุ่มชนที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเหนือ จะมีวิถีความเป็นอยู่ที่ซับซ้อน พยายามหาวิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติ  การดัดแปลงธรรมชาติมีมาก   เราจึงเห็นได้ว่าการที่มนุษย์พยายามปรับตัว เพื่อเอาชนะธรรมชาติ หรือหาวิธีนำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จะทำให้เกิดความแตกต่างในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน
        และแน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น    ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกันที่มีความสำคัญในการกำหนดรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การที่มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการมากขึ้น ทำให้มนุษย์หาทางที่จะใช้สิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ   ทำให้ชีวิตได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการของมนุษย์ ก็ได้สร้างสิ่งที่เลวร้ายให้เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อม  เช่น  ก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกสู่อากาศ ทำให้อากาศเป็นพิษ มีสภาพไม่เหมาะสมแก่การหายใจของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  น้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีและสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย มีความเป็นพิษ  สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตได้ มนุษย์เองก็ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้
        ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ค่านิยม   เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีความสำคัญในการกำหนดรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์    มนุษย์เราเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินชีวิต กำหนดพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น  เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  มนุษย์ที่อยู่ในสังคมเดียวกันย่อมมีรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่มีลักษณะเดียวกัน เช่นพูดภาษาเดียวกัน  ยึดถือกฎเกณฑ์เดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่สังคมกำหนด อาจไม่ได้รับการยอมรับในสังคมนั้น อาจเกิดความขัดแย้งหรืออาจถูกลงโทษได้
        กล่าวโดยสรุปคือ  สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่   ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น    ย่อมมีผลให้รูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์แตกต่างกันออกไป ซึ่งในที่นี้จะนำบางตัวอย่างมาอธิบาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น        
          (1) ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากร  ถ้าหากเรานำจำนวนประชากรของโลกทั้งหมดเฉลี่ยให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้ว  ความหนาแน่นของประชากรโลกจะประมาณ  13  คนต่อตารางกิโลเมตร  (คำนวณจากประชากรโลก ปี พ.ศ.2551 ซึ่งมีจำนวน 6,682 ล้านคน)   แต่ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว     ประชากรโลกมักจะอาศัยอยู่รวมกันตามบริเวณที่มีสภาพทางธรรมชาติเหมาะสมกับการดำรงชีวิต  มนุษย์มักเลือกอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์   มีลักษณะอากาศไม่รุนแรง อุณหภูมิปานกลาง ปริมาณน้ำฝนพอเหมาะ เราจึงพบว่าบริเวณที่มีลักษณะทางธรรมชาติไม่เหมาะสม เช่น ทะเลทรายสะฮาราทางเหนือของทวีปแอฟริกา ที่ราบลุ่มแม่น้ำในไซบีเรียของประเทศรัสเซียจะมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมาก
             นอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  จะเป็นเครื่องกำหนดลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากรแล้ว สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ยังเป็นตัวกำหนดลักษณะการตั้งถิ่นฐานเช่นเดียวกัน ดังจะพบว่าในเขตเมืองซึ่งมีสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นถนน น้ำ ไฟ โทรศัพท์  ครบครัน มีสถานศึกษาหลายระดับ หลายประเภท  มีบริการทางการแพทย์การสาธารณสุข อีกทั้งความสะดวกสบายนานับประการ  เหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองกันอย่างหนาแน่น  และหลายพื้นที่อาจมีประชากรหนาแน่นมากจนเกินกว่าที่เมืองนั้นๆ จะรับได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ส่วนในเขตชนบทซึ่งมีลักษณะทุกอย่างตรงข้ามกับในเขตเมือง  จะพบว่ามีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง    ซึ่งลักษณะการกระจายของประชากรที่ไม่สม่ำเสมอเช่นนี้  เป็นปรากฏการณ์ที่พบทั่วไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
             ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของประชากรในประเทศไทย ก็เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน จะพบว่าในขณะที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีประชากรหนาแน่นมาก คือประมาณ 3,652 คน ต่อตารางกิโลเมตร  แต่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน อยู่ห่างไกลความเจริญ   มีความหนาแน่นของประชากรเพียง 20 คนต่อตารางกิโลเมตร (สถิติประชากร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
         (2) ลักษณะที่อยู่อาศัย  ลักษณะบ้านหรือที่อยู่อาศัยของผู้คนในพื้นที่ต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อม    ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง ทัศนคติ ความเชื่อ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และอื่นๆ 
             ในอดีตประเทศไทยเคยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ การก่อสร้างบ้านเรือนในสมัยก่อนนิยมสร้างด้วยไม้ แต่ในปัจจุบันป่าไม้ของไทยมีจำนวนน้อยลง หาได้ยาก และราคาแพง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจึงเปลี่ยนแปลงไป มีการนำอิฐ ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น ฯลฯ มาใช้ในการก่อสร้าง รูปทรงของบ้านเรือนในอดีตเป็นรูปทรงที่เหมาะกับลักษณะอากาศที่ร้อนและชื้นในประเทศไทย  คือมีหลังคาแหลมเป็นหน้าจั่วสูง มีหน้าต่างมาก มีเฉลียง มีช่องระบายอากาศมาก  นอกจากนั้นในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี จะสร้างบ้านที่มีลักษณะใต้ถุนสูง   ในยุคปัจจุบันไทยเรารับวัฒนธรรมการสร้างบ้านเรือนแบบตะวันตกมาใช้โดยไม่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ผลที่ปรากฏให้เห็นก็คือบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนักเมื่อน้ำท่วม กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางเมื่อ ปี พ.ศ.2538 มีบ้านสมัยใหม่ที่ไม่มีใต้ถุนสูงได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
    ที่มาของข้อมูล:http://human.tru.ac.th/elearning/Human%20Being/human-detail1_5.html
    มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
    มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
    ·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
    ·         ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
    ·         ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได
       ที่มา : รวบรวมจากหนังสือเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
                                                         http://www.school.net.th/library/snet6/envi1/ecosystem/b6.htm